รายละเอียด
แนวคิดการวางระบบบริหารการซ่อมบำรุงรักษาในอดีต จะให้ความสำคัญกับปัญหาการหยุดของเครื่องจักรแบบฉุกเฉินโดยการวางแผนการซ่อมบำรุงเชิงป้องกันเพื่อลดปัญหา แต่การใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งกับความหลากหลายในเครื่องจักรและกระบวนการผลิตมักจะไม่สะท้อนกับความเป็นจริงของระบบ ปัจจุบันแนวคิดการบริหารการซ่อมบำรุงรักษามีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะการบริหารงานแบบเป็นระบบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่สูญเปล่าและเพื่อเพิ่มผลผลิตโดยการใช้เครื่องจักรให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีการตั้งเป้าหมายของการซ่อมบำรุงเพื่อการวางแผนการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบและติดตามข้อมูลอย่างต่อเนื่อง เพื่อการวิเคราะห์สภาพความเป็นจริงและนำไปปรับปรับปรุงกระบวนการและแผนการซ่อมบำรุงรักษา อย่างต่อเนื่อง
การปรับปรุงงาน PM โดยเรียนรู้จากสิ่งที่ทำอยู่ ได้แก่ งาน PM ที่กำลังดำเนินการและการเสียที่ยังคงเกิดขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถปรับปรุงจนได้ PM Task ที่ลด Down Time ได้จริงๆ
หัวข้อสัมมนา (วันที่ 1 : เวลา 09.00-16.00 น.) | ||||||
1. | การคัดเลือกอุปกรณ์ เพื่อปรับปรุงงาน PM (Equipment selection) | |||||
2. | การคัดเลือกงาน PM ที่จะทำการปรับปรุง (PM Selection) | |||||
3. | การจัดทำและจำแนกสาเหตุการเสีย (Failure Mode Classification) | |||||
หัวข้อสัมมนา (วันที่ 2 : เวลา 09.00-16.00 น.) | ||||||
1. | การจัดความสำคัญของสาเหตุการเสีย (Failure mode criticality & Dominant failure) | |||||
2. | การปรับปรุงงาน PM (Matching of Failure mode and PM) | |||||
3. | ติดตามผล และปรับแก้ | |||||
4. | การเสียที่สามารถป้องกันด้วย PM ได้และ ที่ป้องกันด้วย PM ไม่ได้ |
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์